ประวัติ

  • สำนักบริหารและจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มก่อตั้งขึ้น โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2548 เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2548 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีฐานะเป็นสำนักในกำกับของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดให้เป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการบริหารงานที่เป็นอิสระนอกระบบราชการ เน้นความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและพึ่งพาตนเองได้
  • ต่อมามติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในคราวประชุม ครั้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ให้แบ่งและกำหนดอำนาจหน้าที่หน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สินเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การแบ่งและกำหนดอำนาจและหน้าที่หน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2551

วิสัยทัศน์

  • สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน มุ่งมั่นที่จะบริหารและจัดการทรัพย์สิน เพื่อหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารและจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เพื่อแสวงหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยในลักษณะต่างๆ และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

ภารกิจหลัก

สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน สำนักงานมหาวิทยาลัย มีอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารและจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเพื่อแสวงหารายได้ให้แก่ มหาวิทยาลัย ตามที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ดังนี้

  1. บริหารจัดการและดูแลผลประโยชน์ จากการใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่างโปร่งใส และเป็นระบบ ได้แก่ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พื้นที่บริเวณข่วงพะยอม อาคารบริการนักศึกษา อาคารสโมสรข้าราชการ และบริเวณร้านอาหารของสำนักงานมหาวิทยาลัย
  2. บริหารจัดการและจัดจำหน่ายน้ำดื่มตราอ่างแก้ว ของมหาวิทยาลัยให้กับหน่วยงาน บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และร้านค้าบุคคลทั่วไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สิน และแสวงหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยหลักธรรมาภิบาล และมุ่งสู่ระดับสากล
  2. เพื่อพัฒนาพื้นที่และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยให้สามารถแสวงหารายได้และนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
  3. เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพย์สินให้มีความคล่องตัว โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
  4. เพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ด้านการให้บริการกับหน่วยงานและบุคคล เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และสร้างความพึงพอใจกับผู้รับบริการ
  5. เพื่อแสวงหาการสนับสนุนด้านการเงินอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและเหมาะสม
Translate »